ความหลากหลายของคนในสังคมมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งความศรัทธา ความเชื่อ ความคิด ค่านิยม ความสนใจ หรือแม้แต่ความใฝ่ฝันในอนาคต
การเปิดประตูของ “ศาสนาพุทธ” ที่ต้อนรับคนทุกเชื้อชาติที่อยากเรียนรู้ และเปิดใจรับ “ศาสดา” ผู้สอนของศาสนาต่างๆ ที่เข้ามาในบ้านเรา เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงความเป็น “พหุวัฒนธรรม” ที่ดี
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเรียนรู้ “มรดกทางวัฒนธรรม” ทั้งของตัวเองและสังคมอื่น จะช่วยขยายขอบเขตความรอบรู้ และแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนต่างๆ ที่อาจจะมีความซับซ้อนมากกว่าการแสดงออกภายนอกได้มากกว่า
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในภาวะสังคมสมัยใหม่นั้น มีความหลากหลายทับซ้อนอยู่อีกหลายชั้น ทั้งฐานะทางเศรษฐกิจสังคม ความคิด ความชื่นชอบ แรงบันดาลใจ หรือเป้าหมายของแต่ละคน
ขณะเดียวกัน แม้จะดูเหมือนว่าผู้คนในสังคมมีหลากหลาย แต่เมื่อมองอย่างลึกซึ้งลงไป กลับพบลักษณะที่ร่วมกันอยู่ไม่น้อย เช่น ความต้องการจะเป็นที่ยอมรับในสังคม ต้องการมีคุณภาพชีวิตที่ดี อยากเข้าถึงโอกาสสู่ความสำเร็จ อยากมีบทบาททางสังคมและเศรษฐกิจ หรือการแสดงออกที่ไม่ต้องเก็บซ่อนตัวตนใดๆ
มีหลายประเทศทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนพัฒนา Multicultural Infrastructure หรือปัจจัยเอื้อเพื่อส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม ที่เคารพในความแตกต่าง และสร้างโอกาสให้แต่ละคนมีที่ยืนในสังคมได้ในแบบฉบับของตัวเอง
ปัจจัยที่ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม จึงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การมีกฎหมาย ระบบระเบียบ หรือกลไกหน่วยงานมารองรับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัว ซึ่งทุกฝ่ายสามารถที่จะช่วยกันได้ แม้แต่ในชีวิตประจำวันของเราเอง ก็สามารถที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในความคิดต่างอย่างเป็นเรื่องปกติ โดยที่ไม่รู้สึกแปลกแยกใดๆ
ติดตามการเรียนรู้ความเหมือนและความต่าง ที่จะช่วยให้ลดอคติ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุขได้ในสารคดี SOME ONE...หนึ่งในหลาย ตอน “แลหลายไปข้างหน้า” ทาง Facebook และ YouTube : สารคดี SOME ONE หนึ่งในหลาย